ยุทธศาสตร์
-
-
-
-
-
-
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและเกษตรกรรม
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตและสังคม
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-
-
-
-
-
เป้าประสงค์
ตำบลสวายมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาท้องถิ่น ให้เจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้านซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้กำหนดเป้าประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดกิจกรรมต่างๆ บรรลุตามวิสัยทัศน์และพันธกิจ ดังนี้
- ระบบการบริการคมนาคม มีถนนสายหลัก สายรอง สายเชื่อมระหว่างตำบล และถนนภายในหมู่บ้าน ประชาชนได้ใช้เส้นทางคมนาคมที่มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยใช้งานได้ดีและเพียงพอต่อการก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมอย่างทั่วถึง
- ขุดลอก คูคลองและจัดสร้างแหล่งน้ำ สงวนและเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตร
- ระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็ง กลุ่มอาชีพต่างๆ มีศักยภาพในการคิด วางแผนและดำเนินการ พัฒนาอาชีพ ชุมชนและสังคมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการทุกส่วนราชการ สู่ตลาดสากลประชาชนมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น
- การพัฒนาคุณภาพชีวิต การจัดการด้านสวัสดิการสังคม ชมรมต่างๆ การศึกษา การกีฬาและนันทนาการ การส่งเสริมการท่องเที่ยว การสาธารณสุขมีประสิทธิภาพ ฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนท้องถิ่น ตลอดทั้งประชาชนอุ่นใจมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- พัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และสถานที่ในการปฏิบัติงาน เพื่อมุ่งสร้างประสิทธิภาพการ บริหารจัดการองค์กรให้พร้อมบริการประชาชน
- บุคลากรในหน่วยงาน อบรม/ศึกษา เพื่อการบริหารงานและการปฏิบัติงานทุกส่วนของ อบต. มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล
- ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงาน และส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งน้ำ ลุ่มน้ำลำคลอง และป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ รองรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
- เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู รณรงค์สร้างจิตสำนึก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นทุกระดับ
- การอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นด้านต่างๆในชุมชนโดยการดำเนินงาน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
- การส่งเสริม และสร้างจิตสำนึกการใช้พลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- ประชาชนได้ใช้เส้นทางคมนาคมที่มีมาตรฐาน ปลอดภัยในการเดินทาง
- มีแหล่งน้ำพอเพียงต่อการอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร/ระบบส่งน้ำเพื่อการเกษตรจำนวนที่เพิ่มขึ้น
- ประชาชนมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
- จำนวนไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะ/ปรับปรุง/บำรุงรักษา/ประชาชนที่ได้รับประโยชน์
- ร้อยละระยะทางของถนนที่ได้มาตรฐาน
- ร้อยละของประชาชนเดินทางสะดวก
- ร้อยละของอุบัติเหตุลดลง
- ร้อยละของครัวเรือนมีน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและเกษตรกรรม
- จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมอาชีพ/รายได้
- จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการฝึกอาชีพ
- ร้อยละของประชาชนที่พึงพอใจ
- ประชาชนในตำบลสวายมีรายได้เพิ่มขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตและสังคม
- ส่งเสริมสวัสดิการสังคม สงเคราะห์ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ 14 หมู่บ้าน
- จำนวนโครงการ/กิจกรรม เพื่อการส่งเสริมพัฒนาด้านคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิต
- ประชาชนได้รับการบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง 14 หมู่บ้าน
- ร้อยละของความพึงพอใจของประชาชน
- จำนวนโครงการ/กิจกรรมเพื่อส่งเสริมด้านศาสนา และวัฒนธรรม
- จำนวนโครงการ/กิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติ
- จำนวนโครงการ/กิจกรรม สนับสนุนด้านความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สิน สนับสนุนแก้ไขปัญหายาเสพติด
- จำนวนโครงการ/กิจกรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยวและกีฬา/ นันทนาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาด้านการบริการจัดการบ้านเมืองที่ดี
- จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาตนเอง
- ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนต่อการดำเนินงานในการพัฒนาท้องถิ่น
- ร้อยละของรายได้เพิ่มขึ้น
- ร้อยละของความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรและการให้บริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
- จำนวนครั้งในการรณรงค์สร้างจิตสำนึกความตระหนักในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- จำนวนกิจกรรมในการจัดการขยะ
- ร้อยละของกิจกรรมส่งเสริม การอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่นด้านต่างๆ
- จำนวนโครงการที่ดำเนินการพลังงานทดแทน/ประชาชนได้รับประโยชน์/ศูนย์การเรียนรู้พลังงานทดแทน
อ่านเพิ่มเติม : ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์ สวาย