ประวัติกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ประวัติกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจในความรับผิดชอบ คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะ โดยการพัฒนาและให้คำปรึกษาแนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการบริหารงานบุคคล การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การเงิน การคลัง และการบริหารจัดการ ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
ภารกิจหน้าที่ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น (สน.บท.) สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต่อมาภารกิจในเรื่องดังกล่าวได้เพิ่มพูนมากขึ้นเป็นลำดับ สืบเนื่องมาจากการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระ สอดคล้องตามเจตนารมณ์และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ดังนั้น เพื่อให้การส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของท้องถิ่นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นที่จะต้องยกฐานะของสำนักให้เป็นส่วนราชการระดับกรม ซึ่งในปี พ.ศ. 2545 สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่นจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
อำนาจและหน้าที่
อำนาจและหน้าที่ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นไปตามกฏกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดไว้ดังนี้
1. ดำเนินการพัฒนาระบบ รูปแบบ และโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. ส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดทำ ประสาน และบูรณาการแผนพัฒนาท้องถิ่นและวางระบบในการติดตามและประเมิน ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่น
3. ดำเนินการจัดทำ แก้ไข ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ และกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. กำหนดแนวทางและจัดทำมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตาม กฎหมายว่าด้วยการบริการงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
5. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการดำเนินงานด้านการเงิน การคลัง การงบประมาณ การพัสดุ การจัดเก็บรายได้ และการประกอบกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งวางระบบตรวจสอบระบบการเงิน การบัญชี และการพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการจัดการบริการสาธารณะและการศึกษาในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7. กำหนดแนวทาง วางระบบ และสร้างตัวชี้วัดเพื่อเป็นมาตรฐานการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนกำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐาน
8. ส่งเสริมภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารงานและตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
9. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
10. พัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและของกรม
11. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
การแบ่งส่วนราชการ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แบ่งส่วนราชการออกเป็น 2 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง และราชการบริหารส่วนภูมิภาค ดังต่อไปนี้ (กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2551)
ก. ราชการบริหารส่วนกลาง
1. สำนักงานเลขานุการกรม : Office of the Secretary
2. กองการเจ้าหน้าที่ : Division of Personnel
3. กองคลัง : Division of Finance
4. กองกฎหมายและระเบียบท้องถิ่น : Division of Local Legal Affairs
5. กองตรวจสอบระบบการเงินบัญชีท้องถิ่น : Division of Local Audit
6. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศท้องถิ่น : Local Information Technology Centre
7. สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น? : Local Personnel Development Institution
8. สำนักบริหารการคลังท้องถิ่น : Bureau of Local Finance
9. สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น? : Bureau of Local Personnel System Development
10. สำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น (นโยบายและแผน) : Bureau of Local Administrative Development ( Policy and Planning )
ข. ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
– สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด (75 จังหวัด) : Provincial Office for Local Administration
– สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ/กิ่งอำเภอ จำนวน 88 แห่ง
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2551
ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งองค์การบรืหารส่วนตำบล
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลสวาย
ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๙ ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๓ ตอนที่ ๙ ง
ลวงันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๙ นายบรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระมรวงมหาดไทย
รายชื่อผู้ดำรงตำแหน้งร่นกองค์การบริหารส่วนตำบลสวาย ตั้งแต้ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ – ปัจจุบัน
๑.นายเฉลย สินสวัสดิ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๓
๒.นายสมชาย ผระยุติยา พ.ศ. ๒๕๕๓ – ๒๕๔๕
๓.นายจำลอง สนสี พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๓
๔.นายทวีป บุญวร พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๖๔
๕.นายวิโรจน์ กองสนั่น พ.ศ. ๒๕๖๔ – ปัจจุบัน
ตำบลสวาย (อำเภอเมืองสุรินทร์)
ตำบลสวาย เป็นตำบลแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดสุรินทร์ ประมาณ 22 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านสวายที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตผ้าไหม ที่สวยที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ สามารถผลิตและส่งขายไปทั่วทั้งจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งทั่วประเทศ
ประวัติ
ความเป็นมาของชุมชนตำบลสวายมีมานาน เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ มีชุมชนโบราณ คือ บ้านโคกเมือง เป็นเมืองโบราณ มีมาตั้งแต่สมัยตั้งเมืองสุรินทร์ และเป็นเมืองโบราณสมัยขอมเรืองอำนาจ มีบ้านโคกเมืองเป็นเมืองหน้าด่าน อยู่ทางทิศใต้ มีคูค่ายล้อมรอบ ชุมชนบ้านสวายในสมัยเมืองสุรินทร์ได้เริ่มก่อตั้งเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2306 จนถึงในปี พ.ศ. 2433 ในสมัยพระยาสุรินทรภักดีศรีไผทสมันต์ (เยียบ) เจ้าเมืองสุรินทร์ ได้มีราษฎรจากในกำแพงเมืองสุรินทร์ อพยพไปอยู่นอกเมือง เพื่อประกอบอาชีพทางการเกษตร และตั้งหลักแหล่งใหม่ทำสวนไร่นาอยู่ทางบ้านสลักได บ้านแสลงพัน บ้านโคกอาโพน บ้านแกใหญ่แกน้อย บ้านพระปืด บ้านกาเกาะระโยง สำโรง โคกเพชร และทางทิศใต้ไปอยู่หมู่บ้านสวาย-นาแห้ว และบางพวกไปตั้งรกรากที่อำเภอกระสัง อำเภอประโคนชัย อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
ก่อนที่จะเป็นบ้านสวายนั้น พวกชาวบ้านนาแห้วไปทำนาอยู่ทางทิศใต้หมู่บ้าน ซึ่งห่างประมาณ 8 กิโลเมตร ขณะที่ไปอยู่นั้นทางสัญจรไปมาลำบากมาก ทำให้การเดินทางเสียเวลานาน และเป็นป่าทึบ มีสัตว์ร้ายนานาชนิดจึงอพยพครอบครัวไปอยู่ที่นา บริเวณที่ทำนานั้นมีหนองน้ำและมีต้นมะม่วงใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงตั้งชื่อว่า บ้านสวาย ต่อมาจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น จึงขยายหมู่บ้านออกไปทางทิศเหนือและทิศตะวันออก จึงเรียกชื่อหมู่บ้านที่เกิดใหม่นี้ว่า บ้านสวายใหม่ บ้านสวายที่เกิดก่อนเรียกว่า บ้านสวายจ๊ะ (คำว่าสวาย เป็นภาษาเขมรพื้นบ้าน แปลว่า มะม่วง, จ๊ะ แปลว่า เก่า)
บ้านสวายเป็นชื่อภาษาท้องถิ่น (เขมร) แปลว่า มะม่วง เป็นตำบลหนึ่งใน 20 ตำบลของอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ อยู่ห่างจากจังหวัดสุรินทร์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 25 กิโลเมตร ภาษาที่ใช้พูด คือภาษาเขมรเป็นภาษาท้องถิ่น และตำบลสวายอยู่ห่างจากชายแดนกัมพูชา 74 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 44,648 ไร่ (70,107 ตารางกิโลเมตร) แบ่งเป็นที่อยู่อาศัย 1,297 ไร่ พื้นที่เพื่อการเกษตร 29,764 ไร่ พื้นที่ราชพัสดุ 7,511 ไร่ พื้นที่ป่าสงวน 5,536 ไร่ แบ่งการปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน
ซึ่งหมูบ้านสวายของเราเป็นหมู่บ้านที่มีความน่าอยู่มากเลยทีเดียว มีชุมชนที่สะอาดมีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายน่าอยู่มาก มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายที่ และมีคนน่าตาดีหลายคน และมีการท่อผ้าไหมที่สวยงามและขึ้นชื่อ ตำบลสวาย มีชุมชนย่อยทั้งหมดจำนวน 14 ชุมชน โดยชุมชนจะอยู่ในสภาพผสมผสานกันของลักษณะความเป็นเมืองกับชนบทรวมอยู่ด้วยกัน ประชาชนจึงรวมอยู่ด้วยกันอย่างหลากหลายไม่ว่า จะเป็นด้านอาชีพ ฐานะหรือรายได้
ชุมชนในเขตตำบลมีจำนวน 3 ชุมชน มีลักษณะเป็นย่านตลาด ร้านค้า บ้านเช่า หอพักและเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ ประชาชนอยู่กันอย่างหนาแน่นเป็นชุมชนที่ได้รับบริการด้านต่าง ๆ ครบอย่างทั่วถึงเป็นชุมชนที่มีความเจริญประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย
ชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีจำนวน 11 ชุมชนประกอบด้วย กลุ่มคนที่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก รองลงมาคือรับจ้างทั่วไป บ้านเรือนส่วนใหญ่จึงเป็นบ้านสำหรับพักอาศัย จะมีร้านค้าตั้งค้าขายปะปนอยู่เพียงเล็กน้อย
ซึ่งชุมชนของเรานั้นก็ได้มีกิจกรรมมากมายให้คนในหมู่บ้านได้เข้าไปร่วมสนุกร่วมกิจกรรมเพื่อช่วยเสริมสร้างความปรองดองให้กับคนในหมู่บ้าน ซึ่งกิจกรรมของเรามีทั้งกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน กิจกรรมให้ความรู้ต่างๆกับชาวบ้าน และแหล่งผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของกลุ่มสตรีทอผ้าไหมตำบลสวาย และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจเขาสวาย
สภาพทั่วไป
ตำบลสวายมีเนื้อที่ประมาณ 70.107 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 43,877 ไร่ มีเขตการปกครองจำนวน 14 หมู่บ้าน คือ
- หมู่ที่ 1 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านสวายจ๊ะ
- บ้านเกาะพะเนาว์
- บ้านสวายกอง
- บ้านปอยปรีง
- บ้านโคกละลวด
- บ้านตึกจุม
- หมู่ที่ 2 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านตารอด
- บ้านโคกตาฉิม
- บ้านโคกสนวน
- หมู่ที่ 3 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านสวาย
- บ้านอันโนงเจราะ
- บ้านโคกยาว
- บ้านโคกโสภี
- บ้านโคกอาเริง
- บ้านตลาดอันทราย
- หมู่ที่ 4 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านตะเปียงจรัง
- บ้านตะเปียงโจรว
- บ้านโคกตาเกิด
- หมู่ที่ 5 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านตาระวี
- บ้านดองต็วง
- บ้านปอยเจร๊ะ
- หมู่ที่ 6 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านทะลอก
- บ้านสังเกิด
- บ้านระไซร์ดบ
- บ้านโคกกระปือ
- หมู่ที่ 7 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านนาแห้ว
- หมู่ที่ 8 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านปอยเดิน
- หมู่ที่ 9 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านระไซร์
- หมู่ที่ 10 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านโคกแซะ
- บ้านโคกตลัด
- หมู่ที่ 11 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านสะแง
- หมู่ที่ 12 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านระเวียง
- หมู่ที่ 13 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านโคกเมือง
- บ้านตาตรู
- บ้านตาเปาะ
- หมู่ที่ 14 มีคุ้มหมู่บ้าน ได้แก่
- บ้านตะเคี่ยน
การปกครอง(ปัจจุบัน) พ.ศ. ๒๕๖๔
การปกครองปัจจุบันมีการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย โดยมี
- นายวิโรจน์ กองสนั่น เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวาย
- นายจำลอง สนสี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวาย
- นางชนาวันธุ์ เสียงเพราะ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวาย
- นางคณาพร สุรินทราบูรณ์ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวาย
และมีกำนันปกครอง คือ
- นายสัณหพงศ์ เสมอภาค กำนันตำบลสวาย
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
- ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตตำบลประทัดบุ ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตตำบลสูงเนิน ตำบลบ้านปรือ ตำบลหนองเต็ง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลสวาย เป็นที่ราบด้านทิศตะวันออกมีระดับความสูงประมาณ 150 เมตร บริเวณตอนกลางเป็นที่ราบตลอดและลาดต่ำทางทิศตะวันตก มีระดับความสูงประมาณ 140 เมตร ลักษณะโดยทั่วไปเป็นดินปนทราย พื้นที่ส่วนมากเป็นที่ราบลุ่ม ใช้เป็นที่ตั้งชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรม ได้แก่ พื้นที่การทำนาเป็นส่วนใหญ่ มีแหล่งน้ำทางธรรมชาติที่สำคัญ คือ ลำน้ำชีเป็นลำน้ำที่กั้นเขตระหว่างจังหวัดบุรีรัมย์กับจังหวัดสุรินทร์ ไหลจากทางทิศใต้ไปทางทิศเหนือผ่านตำบลสวาย ตำบลตระแสง ตำบลท่าสว่าง ตำบลนาดี ตำบลเพี้ยราม ผ่านเขตอำเภอจอมพระ เข้าสู่เขตอำเภอท่าตูมไหลลงแม่น้ำมูล ลำน้ำชี ไหลผ่านเขตตำบลสวายทางทิศตะวันตกของตำบลผ่านในหมู่ที่ 14,12,11,4,5,6,7,9,8,10 ผ่านเข้าสู่เขตตำบลตระแสงต่อไป มีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำห้วยระไซร์ อ่างเก็บน้ำสยา อ่างเก็บน้ำตาบุตร อ่างเก็บน้ำตาเลอะ หนองตาระวี หนองตาตม หนองทะลอก หนองตราวเกียรติ หนองตระแสง หนองใหญ่ หนองตาตวน หนองสะแง หนองระเวียง หนองตาเปาะ นอกจากนี้ยังมีสระน้ำขนาดเล็กอีกหลายแห่ง
สภาพสังคม
ตำบลสวาย มีชุมชนย่อยทั้งหมดจำนวน 14 ชุมชน โดยชุมชนจะอยู่ในสภาพผสมผสานกันของลักษณะความเป็นเมืองกับชนบทรวมอยู่ด้วยกัน ประชาชนจึงรวมอยู่ด้วยกันอย่างหลากหลายไม่ว่า จะเป็นด้านอาชีพ ฐานะหรือรายได้
ชุมชนในเขตตำบลมีจำนวน 3 ชุมชน มีลักษณะเป็นย่านตลาด ร้านค้า บ้านเช่า หอพักและเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ ประชาชนอยู่กันอย่างหนาแน่นเป็นชุมชนที่ได้รับบริการด้านต่าง ๆ ครบอย่างทั่วถึงเป็นชุมชนที่มีความเจริญประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย
ชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีจำนวน 11 ชุมชนประกอบด้วย กลุ่มคนที่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก รองลงมาคือรับจ้างทั่วไป บ้านเรือนส่วนใหญ่จึงเป็นบ้านสำหรับพักอาศัย จะมีร้านค้าตั้งค้าขายปะปนอยู่เพียงเล็กน้อย
ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง
- ผ้าไหมมัดหมี่ 3 ตะกอ
- ผ้าไหมมัดหมี่ 4 ตะกอ
- ผ้าไหมมัดหมี่ 5 ตะกอ
- ผ้าไหมมัดหมี่ 6 ตะกอ
- ผ้าไหมมัดหมี่ 8 ตะกอ
- ผ้าคลุมเตียงมัดหมีไหม ใหญ่ที่สุดในโลก
เป็นทั้งผ้าซิ่นไหม ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ผ้าพื้น ซึ่งเป็นจุดผลิตผ้าไหมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในจังหวัดสุรินทร์
สถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน
- พระดินปั้นพันปี วัดตาตอมจอมสวาย
- ศาลหลักเมืองบ้านสวาย บ้านตาระวี หมู่ 5
- วนอุทยานแห่งชาติพนมสวาย
- ภาพวาดพุทธประวัติโบราณภายในโบสถ์ วัดนารายณ์บุรินทร์
- เกาะตาเล็ก บ้านตะเคียน
- อ่างเก็บน้ำโอระไซร์
- หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านสวายจ๊ะ หมู่ที่ 1
- ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านสวาย หมู่ 3
- ตลาดไหมใต้ถุนเรือน บ้านตารอด หมู่ 2
- ชุมชนทอผ้าไหมตำบลสวาย หมู่ 1/2/3/4/5/6/7/8/9/10
- อันโนงเจราะ (บ่อน้ำโบราณ) วัดนารายณ์บุรินทร์
- ภาพเขียนสีโบราณในโบสถ์เก่า วัดนารายณ์บุรินทร์
- โบสถ์ 100 ปี วัดแสงบูรพา
- ทะเลสาบเซรากราว (อ่างเก็บน้ำห้วยระไซร์)
ข้อมูลอ้างอิง : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี